Skip links

ตำแหน่งอาถรรพ์บริษัทคุณมีหรือไม่?

“ น้องนกที่เพิ่งมาใหม่ ลาออกแล้วเหรอ?”
วลีเด็ด (แต่อาจเปลี่ยนชื่อคน)
ที่หลายคนน่าจะเคยได้ยินหรือผ่านหูกันมาบ้าง
แล้วเคยสงสัยกันบ้างไหมคะว่า
ทำไมงานบางตำแหน่ง
ใครมาทำ ก็ไม่เคยอยู่ยาวเอาซะเลย?
จนหลายคนต้องให้ชื่อว่าเป็น #ตำแหน่งอาถรรพ์ !!!
.
#เกิดอะไรขึ้นเมื่อมีตำแหน่งอาถรรพ์ในองค์กร?
.
1. ฝ่ายบุคคลต้องหาคนใหม่เพื่อมาแทนตำแหน่งเดิม
ส่งผลต่อต้นทุนทั้งเวลาและค่าใช้จ่าย
ในการรับสมัครงานใหม่อยู่ตลอดเวลา
.
2. หัวหน้างานต้องคอยสอนงานพนักงานใหม่อยู่เรื่อย ๆ
กระทบต่อการทำงานและประสิทธิภาพ
ในการทำงานที่เป็นหน้าที่ของตัวเอง
.
3. เกิดผลกระทบต่อกระบวนการทำงาน
งานสะดุดหรือหยุดชะงัก
นำไปสู่การสูญเสียรายได้ระยะยาว
.
4.พนักงานที่อยู่สูญเสียกำลังใจ
เพราะเห็นคนลาออกอยู่ตลอดเวลา
.
5. ชื่อเสียงขององค์กรเสียหาย
หากพนักงานมีการลาออกบ่อย ๆ
ผู้สมัครเกิดความรู้สึกไม่ดี ไม่กล้ามาสมัครงาน

#เราจะป้องกันการเกิดตำแหน่งอาถรรพ์ได้อย่างไร?
.
1. ตรวจสอบเนื้องานตำแหน่งที่มีปัญหา
.
อาจเกิดจากรายละเอียดการทำงาน (Job description)
ไม่เหมือนที่ตกลงไว้ตั้งแต่แรก
หาคนมาไม่เหมาะสมกับตำแหน่งงาน
รวมถึงลักษณะงานที่ทำอยู่
ไม่ช่วยให้พัฒนาหรือไม่มีความก้าวหน้า
แล้วนำมาเป็นแนวทางในการแก้ไขต่อไป
.
2. เช็คสภาพแวดล้อมในการทำงานของพนักงาน
.
ไม่ว่าจะเป็นจากทั้งหัวหน้างาน เพื่อนร่วมงาน
วัฒนธรรมองค์กร อุปกรณ์
เครื่องมือสนับสนุนการทำงานที่ไม่ดีพอ ไม่เป็นระบบ
เปรียบเทียบดูว่า
ตำแหน่งอื่น แผนกอื่นมีปัญหาแบบนี้เช่นเดียวกันหรือไม่
หากมีก็อาจจะเกิดจากองค์กร
หากไม่มีอาจจะเกิดกับคนที่เกี่ยวข้องในส่วนงานนั้น
.
3. คอยอัพเดตเกี่ยวกับเรื่องเงินเดือนและสวัสดิการต่าง ๆ เสมอ
.
อย่าละเลยที่จะไม่ใส่ใจว่า
ตำแหน่งเหล่านั้นมีฐานเงินเดือนอยู่ที่เท่าไหร่
และบริษัทอื่นมีสวัสดิการอย่างไร
เพราะหากเผลอมองข้ามไป
กว่าจะรู้ตัวอีกที เราก็สูญเสียพนักงานไปแล้ว
เพราะที่อื่นให้เงินเดือนและสวัสดิการที่เหมาะสมกว่า
.
4. ใส่ใจตั้งแต่เนิ่น ๆ
.
แทนที่จะสนใจเรื่อง KPI อย่างเดียว
ลองเปลี่ยนมาห่วงใยสุขภาพกายและสุขภาพใจ
ของพนักงานดูบ้าง
ว่างานบางอย่างทำให้ Work Life Balance
นั้นเสียสมดุลหรือเปล่า
ก่อนจะต้องให้พนักงานมาทำแบบสอบถามก่อนลาออก (Exit interview)
ลองหันมาใส่ใจการประเมินรายเดือนในช่วงทดลองงาน (Probation)
หรืออาจจะคอยสอบถามความพึงพอใจระหว่างการทำงานของพนักงาน
หากเราสามารถวิเคราะห์และมองเห็นตั้งแต่ต้น
ปัญหา #ตำแหน่งอาถรรพ์ ก็จะไม่เกิดขึ้นกับองค์กรของคุณอีกต่อไป
.
องค์กรของใครมี #ตำแหน่งอาถรรพ์ อยู่
อย่าลืมลองนำวิธีการจาก #PRTR ไปใช้กันดูนะคะ
.
“เพราะความสำเร็จของคุณ คือความสำเร็จของเรา”

Top