Skip links

โรคคอมพิวเตอร์ซินโดรม

งานวิจัยจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์พบว่า ปัจจุบันพนักงานออฟฟิศมีการทำงานติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน และเป็นโรคคอมพิวเตอร์ซินโดรมกันมากยิ่งขึ้น โดยส่วนใหญ่ทำงานตั้งแต่ 7-9 ชั่วโมงต่อวัน

พนักงานออฟฟิศที่มีอาการเจ็บป่วย จากโรคคอมพิวเตอร์ซินโดรมส่วนใหญ่ จะรู้สึกเจ็บปวดขณะทำงาน หรือแม้กระทั่งเวลาพักจากการทำงาน ทั้งนี้ ส่วนใหญ่มีอาการเจ็บป่วยที่บริเวณไหล่บ่า ซึ่งส่วนใหญ่ไม่ได้รับการดูแลที่ดีจากองค์กร อาทิการจัดเตรียมอุปกรณ์ด้านการยศาสตร์ เพื่อช่วยสนับสนุนและป้องกันการ เกิดอาการเจ็บป่วย หรือแนวทางการดูแลรักษา เมื่อเกิดอาการเจ็บป่วยด้วยโรคคอมพิวเตอร์ ซินโดรมเนื่องมาจากการทำงาน

เมื่อเกิดอาการเจ็บป่วยจากโรคคอมพิวเตอร์ซินโดรมพนักงานออฟฟิศส่วนใหญ่ มีแนวทางการดูแลรักษาตนเอง โดยการละเว้นจากการทำงาน

สาเหตุของการเกิดโรคคอมพิวเตอร์ซินโดรม คือ ความเครียดที่เกิดมาจากปัจจัยหลัก 6 อย่าง

1.การติดตามงานเเละการทวงงานที่อาจมีการกดดันมากเกินไป
2.
บทลงโทษจากความผิดพลาดในการทำงาน
3.
ความสามารถในการทำงานของตนเอง
4.
อำนาจและความสามารถในการจัดการกับงาน
5.
บรรยากาศในการทำงานในองค์กร
6.
การยอมรับจากเพื่อนร่วมงาน

ปัจจุบันองค์กรต่าง ๆ ยังคงไม่ได้ให้ความสำคัญกับปัญหานี้เท่าที่ควร โดยขาด ความเข้าใจถึงสาเหตุ การวางกลยุทธ์ แนวทางการป้องกันการเกิดโรคคอมพิวเตอร์ซินโดรมภาย ซึ่งจะส่งผลดีต่อการดำเนินงานและบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ในด้านต่างๆ

1 ด้านการประเมินผลการปฏิบัติงาน
การประเมินการทำงาน ควรมีการกำหนดตัวชี้วัด (KPI) ที่มีความท้าทายแต่ต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริงที่ไปได้ภายใน ระยะเวลาที่กำหนด มีการกำหนดความรับผิดชอบของพนักงาน เพื่อสร้างความชัดเจนให้กับ ผู้ปฏิบัติงานและสร้างผลลัพธ์ของงานที่มีประสิทธิภาพ โดยสร้างความเข้าใจให้กับพนักงาน ถึงแนวทางการใช้การประเมินผล เพื่อมุ่งให้ทราบถึงแนวทางการพัฒนา บุคคลากรโดยรวม มากกว่าการประเมินผลการปฏิบัติงาน เพื่อจัดลำดับหรือ ลงโทษ ซึ่งจะช่วยสร้างบรรยากาศในการทำงานที่ดี ลดความเครียดที่ก่อให้ดกิดอาการเจ็บป่วย จากการทำงานที่หนักจนเกินไปและเกิดประสิทธิภาพในการทำงานสูงสุด

2 ด้านการพัฒนาบุคลากร
การพัฒนาบุคลากร การเพิ่มพูนทักษะของพนักงาน รวมถึงกระตุ้นให้พนักงาน เกิดความมั่นใจในการนำความสามารถของตนเองออกมาใช้ได้อย่างเต็มศักยภาพอยู่เสมอ ถือเป็นสิ่งที่องค์กรควรให้ความสำคัญ เพราะไม่เพียงแต่จะสามารถสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันในกับองค์กรเท่านั้น แต่ยังช่วยลดสภาวะเครียด กดดัน เนื่องจากพนักงานรู้สึกว่า ไม่สามารถควบคุม สถานการณ์การทำงานได้ ซึ่งส่งผลต่อสภาวะเครียด และส่งผลต่อสุขภาพ กลายเป็นปัญหาสุขภาพใน ระยะยาว

3 ด้านการกระบวนการตัดสินใจ
การนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ภายในองค์กร เพื่อช่วย ลดขั้นตอนการทำงาน ให้ได้คำปรึกษาที่รวดเร็วและการประสานงานที่คล่องตัว เช่น การนำระบบออนไลน์เข้ามาใช้ในการแจ้งเตือนและอนุมัติงาน ซึ่งจะช่วยให้เกิดระบบการตัดสินใจได้ ทันที ลดระยะเวลาการรองานเอกสาร และชั่วโมงที่มากขึ้นจากการตัดสินใจ ช่วยให้ การประสานงาน การทำงานร่วมกันระหว่างผู้บริหารและพนักงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมาก ยิ่งขึ้น

4 ด้านการออกแบบงานและการยศาสตร์ภายในองค์กร

ปัจจุบันแม้ว่าองค์กรจะมีการนำคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ในองค์กรกันอย่าง แพร่หลาย แต่หลายองค์กรในประเทศยังไม่มีการนำอุปกรณ์การยศาสตร์เข้ามาใช้ เพื่อป้องการ เจ็บป่วยจากการทำงาน หรือโรคคอมพิวเตอร์ซินโดรม ที่เกิดจากการทำงานอย่างจริงจัง ทั้งนี้ ถึงแม้ อุปกรณ์การยศาสตร์จะสามารถช่วยลดความเสี่ยง ที่เกิดจากการทำงานติดต่อกันเป็นระยะเวลานานได้ แต่การป้องกันในลักษณะนี้ยังเปรียบเสมือนการป้องกันที่เป็นปลายเหตุ แต่องค์กรควรมุ่งเน้นศึกษาเพื่อให้เข้าใจถึงสาเหตุที่แท้จริงของสภาพแวดล้อมการทำงานภายในองค์กรที่ส่งผลต่อการเกิด โรคคอมพิวเตอร์ซินโดรม ให้ความสำคัญกับการออกแบบงานให้มีความเหมาะสม โดยคำนึงถึงการขยายความรับผิดชอบของงาน การกระจ่ายงาน เพื่อแบ่งภาระงานที่หนักเกินไป การปรับลดกระบวนการที่ ไม่จำเป็น เช่น ปรับลดปริมาณเอกสาร ระยะทางการขนส่ง หรือการทำงานที่ซำ้ซ้อน เป็นต้น นอกจากนี้ยังรวมไปถึง การจัดสวัสดิการ ละวางนโยบายการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ที่คำนึงถึงการ เสริมสร้างบรรยากาศที่ดีในการทำงานร่วมกันภายในองค์กร สนับสนุนการจัดกิจกรรม สวัสดิการที่เสริมสร้างคุณภาพชีวิตของพนักงานให้เกิดความสมดุลระหว่างชีวิตส่วนตัวและการทำงานที่มากขึ้น

Top