Skip links

รู้กันทั้งอำเภอ (เเละทั่วไทย) ว่าเเค่ “สัญญาใจ” ได้ไม่หมด เเละไม่สดชื่น

จากประเด็นการกล่าวหา “เอาเปรียบค่าตัว” จากสัญญาปากเปล่าระหว่างเจ้าของค่ายเพลงดังกับนักร้อง ที่กำลังได้รับเสียงวิจารณ์จากสังคมในตอนนี้

หากมองในมุมขององค์กรและลูกจ้าง การใช้สัญญาใจหรือคำพูดลอยๆ เพียงปากเปล่านั้นไม่เวิ้กแน่ๆ เพราะไม่มีน้ำหนักและเครื่องยืนยันตามกฎหมาย ว่าคนที่พูด “พูดแล้วจะทำตาม”

“เดี๋ยวผ่านโปรแล้วพี่เพิ่มให้ 20%”
“อยู่กับผมต่อปีหน้า ผมปรับเพิ่มให้ 2เท่าแน่นอน”

ได้ยินแบบนี้ในตอนแรกอาจเคลิ้มจนลืมไปว่า สิ่งเหล่านี้เป็นเพียง “ลมปาก” ที่ไม่ได้ระบุอยู่ในสัญญาจ้างแต่อย่างใด ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาความวุ่นวายได้ หากคนใดคนหนึ่ง “พูดไม่จริง” หรือพูดแล้วไม่ทำอย่างที่พูดซะงั้น

ฝั่งเจ้านายหรือผู้บริหารนั้นสำคัญมากว่าหากพูดอะไรออกไปแล้ว “ต้องหนักแน่น” ทำให้ได้อย่างที่พูด ถึงแม้จะไม่ได้ระบุเป็นลายลักษณ์อักษรก็ตาม เพราะมันคือความน่าเชื่อถือที่อาจถูกทำลายลงได้ในอนาคต

ในฝั่งลูกจ้างเองหากมั่นใจและเชื่อใจกับข้อเสนอแบบปากเปล่าของหัวหน้า โดยไม่มีการระบุในเอกสารสัญญา หรือแม้แต่เพียงการตอบกลับจากอีเมล์เป็นเครื่องยืนยัน
โปรดเผื่อใจไว้เลยว่าสิ่งที่กำลังหลงเคลิ้มอยู่นั้น “มีโอกาสที่จะไม่เกิดขึ้นจริง”

 

ติดตามเรื่องราวของโลกธุรกิจ ผ่านมุมมองของ HR ได้ที่
https://web.facebook.com/prtr.thailand/

 

อยู่ท่ามกลาง “คนคิดดี” ช่วยผลักดันชีวิตให้ดีขึ้น คนลบชีวิตยากที่จะเจริญ

Top