Skip links

คนไทยเหงา 26 ล้านคน เราเป็นหนึ่งในนั้นหรือเปล่านะ?

คนไทยเหงา 26 ล้านคน เราเป็นหนึ่งในนั้นหรือเปล่านะ?
นายบุญยิ่ง คงอาชาภัทร หัวหน้าสาขาการตลาดวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล เผยข้อมูล
คนเหงาในไทยเพิ่มมากขึ้น จนตอนนี้สูงถึง 26.75 ล้านคน
 
โดย 49.3% #เป็นวัยทำงานที่มีอาการเหงาติดอันดับหนึ่ง
 
แถมกิจกรรมแก้เหงา ที่คนเหงาส่วนใหญ่ทำคือ เล่นโซเชียลมีเดีย
#ส่องเฟส #เช็คทวิต #เข้าไลน์ #อัพอินสตาแกรม #สไลด์ทินเดอร์
ชีวิตติดโซเชียลแบบนี้ แทนที่จะทำให้หายเหงา โอยยย แบบนี้เหงาแย่กว่าเดิมไปอีกนะคะ
 
แต่สิ่งที่เรียกว่าความเหงาเนี่ยมันทำร้ายเราได้จริงเหรอ?
 
หลายคนคงเคยได้ยินผ่านๆ กันว่า..
ความเหงาทำร้ายเราเท่ากับการสูบบุหรี่ 15 มวนต่อวัน
จริงหรือไม่?
 
เราเคยทำงานหนักๆ แล้วเครียด ปวดหัวกันบ้างมั้ย
แค่เรานั่งในห้องแอร์แล้วใช้สมองคิดงานหนักๆ ก็เครียดได้แล้ว
 
ความเหงาก็ไม่ต่างกัน มันทำให้เราเครียด และหดหู่
สารเคมีในร่างกายหลั่งออกมามาก ทำให้เราตื่นตัวดีก็จริง
แต่พอสะสมนานเข้า ทำให้โรคร้ายต่างๆ ก็จะต่อแถวตามกันมา
 
โดยเฉพาะโรคซึมเศร้าที่เริ่มเห็นกันมากขึ้นในช่วงนี้
ถ้าเปรียบกับการสูบบุหรี่ 15 มวนต่อวัน ก็คงไม่ผิดหรอกค่ะ
 
พอมาคิดอีกที คนวัยทำงานจะไปหาอะไรแก้เหงาได้ที่ไหน
ก็ต้องในที่ทำงานนั่นเองค่ะ มาทำชีวิตการทำงานให้ไม่โดดเดี่ยวกันเถอะ

 

1. ปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้เทคโนโลยี

 
หลาย ๆ คนเลือกที่จะใช้การสื่อสารกับลูกน้องหรือเพื่อนร่วมงานโดยผ่านทาง แอปพลิเคชั่น หรือการโทรศัพท์มากกว่า ซึ่งจริง ๆ แล้วมันก็เป็นสิ่งที่อำนวยความสะดวก แต่หากต้องการมีตัวตนจริง ๆ แนะนำว่าควรที่จะใช้การพูดคุยกันด้วยตัวเองจะดีกว่านะคะ
 
2. เลื่อนการประชุมให้น้อยลงหรือใช้เวลาให้สั้นลง
 
การเรียกประชุมบ่อย ๆ หรือใช้เวลานาน ๆ ในการประชุมจะเป็นสิ่งที่ลดความสนิทของคนในองค์กรลงได้ ซึ่งการลดจำนวนครั้งในการเรียกประชุม หรือลดเวลาในแต่ละครั้งลง นอกจากจะช่วยให้พนักงานได้ใช้เวลาร่วมกันมากขึ้นแล้ว ยังช่วยให้โฟกัสกับการทำงานได้ดีกว่าด้วยค่ะ
 
3. ประชุมโดยไม่ต้องใช้แล็ปท็อบบ้าง
 
การประชุมนั้นส่วนใหญ่แล้วจะต้องมีการพกพาเครื่องมือสื่อสาร และแล็ปท็อบเข้าไป ซึ่งมันทำให้คุณกับผู้ร่วมประชุมมีระยะห่าง หรือเส้นบาง ๆ ระหว่างกันอยู่ ลองเปลี่ยนมาเป็นการเข้าประชุมตัวเปล่า ๆ เพื่อสร้างบรรยากาศที่ดูสบายขึ้นบ้าง ในบางครั้งก็จะช่วยให้คุณได้พูดคุยกับคนใกล้ ๆ ตัวได้มากขึ้น
 
4. ติดต่อกันด้วยตัวเองให้มากกว่าการส่งอีเมล
 
แม้ว่าการรับส่งอีเมลเพื่อใช้ในการสื่อสารนั้นจะสะดวกกว่าก็ตาม แต่มันก็มักทำให้ความสนิทสนมกันของคนในฝ่ายลดลงไปได้ ลองเปลี่ยนมาเป็นการเดินไปมาเพื่อพูดคุยกันบ้าง แทนการส่งอีเมลก็จะช่วยลดระยะห่างของคุณกับเพื่อนร่วมงานลงได้ ซึ่งเรื่องนี้มีผลการศึกษาใน Harvard Business Review พบว่าการโต้ตอบแบบตัวต่อตัวหนึ่งครั้งประสบความสำเร็จมากกว่าการแลกเปลี่ยนอีเมล 34 ครั้ง เลยทีเดียว
 
5. สร้างวัฒนธรรมในการเรียนรู้ร่วมกัน
 
การที่จะสอนงาน หรือแนะนำให้กับลูกน้องของคุณนั้น ควรเป็นการแนะนำที่ส่งเสริมความรู้แบบร่วมกันได้ทั้งหมด เช่น การแนะนำเรื่องของการใช้โปรแกรมในการทำงาน หรือคำแนะนำในการทำงานให้ประสบความสำเร็จ ซึ่งการสร้างวัฒนธรรมแบบนี้ จะทำให้คุณกับผู้ฟังได้ทำความคุ้นเคยกันมากขึ้น
 
6. ส่งเสริมการใช้ชีวิตไปพร้อมกับการทำงาน
 
คนทุกคนก็ย่อมอยากที่จะมีชีวิตส่วนตัว และให้เวลากับสิ่งสำคัญของตัวเองบ้างเหมือนกัน การไม่ก้าวก่ายกันในเรื่องส่วนตัว และยอมรับในการให้ลูกน้องหรือเพื่อนร่วมงานได้ออกไปใช้ชีวิตในแบบของตัวเองบ้าง ก็ถือเป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกันได้
 
7. ต้องไม่ลืมว่าการค้นพบความสำคัญของคนทำงานดีกว่าการหาคนทำงานใหม่
 
หลาย ๆ ครั้งที่หัวหน้างาน หรือผู้จัดการมักจะลืมไปว่า คนในองค์กรหลาย ๆ คนก็มีความสามารถในการทำงานได้ดีเหมือนกัน ทำให้เลือกที่จะรับพนักงานใหม่เข้ามาทำงานแทน ซึ่งนั่นก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดความโดดเดี่ยวของคนในองค์กรได้เหมือนกัน ลองเปลี่ยนทัศนะคติ แล้วมองหาความสำคัญจากคนในองค์กร หรือคนใกล้ตัวนที่ทำงานดูก่อนดีกว่า เพราะนอกจากจะทำให้เกิดความคุ้นเคยกันได้เร็วกว่าแล้ว ยังช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายได้มากกว่าด้วย
 
ใครที่อยู่ในวัยทำงานก็ลองนำทั้ง 7 วิธีนี้ ไปปรับใช้กับความคิด ทัศนคติในที่ทำงานดู ก็จะช่วยลดการเกิดโรคความเหงา และความโดดเดี่ยวของคนในที่ทำงานได้ไม่มากก็น้อยค่ะ
Top