Skip links

ทำงานกับคนคิดลบ งานไม่จบ ยังต้องรบกันอีก

ยังอยากร่วมงานกันต่อไปไหม ถ้าเจอแต่คนคิดลบอยู่รอบตัว?

การทำงานร่วมกันในองค์กรนั้น ย่อมมีคนที่มีความคิด มุมมองที่หลากหลาย และแตกต่างกัน โดยหนึ่งในทัศนคติที่ถือว่าไม่ดีเอามาก ๆ เลยก็คือ มุมมองเชิงลบ หรือทัศนคิตในเชิงลบนั่นเอง แต่การที่จะเปลี่ยนแปลงคนที่ชอบคิดลบอยู่เป็นประจำก็ไม่ใช่เรื่องยากซะทีเดียว

การทำงานกับคนคิดลบ ซึ่งถ้าเอาคนคิดลบมาทำงานด้วยกันแล้ว
สมการคณิตศาสตร์ “ลบเจอลบเป็นบวก” อาจเป็นจริงทันที

#เราอาจไม่ได้เห็นความคิดบวกจากพวกเขา
#แต่เราอาจเห็นเขาบวกกันก็เป็นได้

แน่นอนว่า ไม่มีวันที่การโต้เถียงกันจะจบลงด้วยดี เพราะเขาจะเลือกฟังแต่สิ่งที่พอใจและตอบโต้กลับในสิ่งที่เขาเห็นต่างเท่านั้น แต่เมื่อต้องร่วมงานกันจึงต้องใช้วิธีเข้าใจพวกเขาก่อนค่ะ

1. #ใช้การเรียกชื่อเป็นตัวเปิดประเด็น

ไม่ว่าจะเป็นการถาม หรือติดตามงานใด ๆ ก็ตาม การที่เริ่มต้นประโยคด้วยการเรียกชื่อ แทนการใช้คำว่า คุณ เธอ หรือ นี่ ในการเรียกสอบถามหรือสั่งงาน เพราะการเปิดหัวประโยคด้วยการเรียกชื่อนั้น เปลี่ยนแปลงทัศนคิตเชิงลบในช่วงแรกได้เหมือนกัน

2. #แสดงออกถึงความเข้าใจ

ทัศนคติเชิงลบบางครั้ง ก็มาจากความผิดพลาดในการทำงาน หรือล้มเหลวจากความพยายามได้ ฉะนั้นแล้ว การแสดงความเข้าใจ และรับรู้ได้ถึงความพยายามในการทำงาน การคิดโปรเจ็คต่าง ๆ ก็จะช่วยสนับสนุนให้เกิดการคิดบวกได้

3. #อธิบายความคิดหรือความต้องการของคุณ

อย่าลืมที่จะได้อธิบายความคิด หรือสิ่งที่คุณต้องการ โดยเฉพาะจากเพื่อนร่วมงานที่มีทัศนคิตเชิงลบ เพื่อให้เขาได้เข้าใจสิ่งที่คุณต้องการสื่อสารได้กระจ่างมากยิ่งขึ้น ทำให้ไม่ต้องมีเรื่องติดค้างในใจจนกลายเป็นมุมมองในเชิงลบนั่นเอง

4. #ลองฟังมุมมองเชิงบวกจากเขาบ้าง

แม้ว่าเราจะรู้ว่าเขาคนนั้นชอบคิดเรื่องต่าง ๆ ในเชิงลบ แต่ก็ใช่ว่าเขาจะต้องมีแต่มุมมองเชิงลบเพียงอย่างเดียว ลองรับฟังทัศนคติเชิงบวกจากเขาดูบ้าง แล้วลองสนับสนุนความคิดเหล่านั้น หรือให้คำแนะนำเกี่ยวกับมุมมองเชิงบวกกับเขาดูบ้างก็เป็นการแลกเปลี่ยนที่ดีทีเดียว

5. #ลองหาสาเหตุและต้นตอของทัศนคติด้านลบ

อย่างที่เราบอกไปแล้วว่า มุมมองด้านลบที่เกิดขึ้นนั้น ย่อมต้องมีสาเหตุมาจากเพื่อนร่วมงาน หัวหน้างาน หรืองานที่พยายามทำแล้วแต่ยังไม่สำเร็จ ซึ่งการช่วยหาสาเหตุและต้นตอของความผิดพลาด หรือเรื่องที่ทำให้เกิดความคิดด้านลบ และช่วยกันแก้ไข จะเป็นวิธีที่ช่วยลบล้างความคิดที่ไม่ดีออกไปได้

6. #สำรวจความเข้าใจของผู้ฟัง

หากคุณเป็นหัวหน้างาน และมีลูกน้องที่ค่อนค้างมีความคิดเชิงลบกับทีมในการทำงาน ให้ลองปรับเปลี่ยนวิธีในการสั่งงาน เป็นการถามทวนอีกครั้งเพื่อสำรวจความเข้าใจดูก่อน เพราะหากปล่อยให้ทำงานโดยปราศจากความเข้าใจจริง ๆ ย่อมทำให้เกิดผลในด้านลบตามมาได้ ฉะนั้นอย่าลืมที่จะถามก่อนว่าลูกน้องในทีมของคุณ “เข้าใจแล้วหรือยัง”

7. #ให้โอกาสในการแสดงทัศนคติ

เมื่อรู้สึกว่าลูกน้อง หรือเพื่อนร่วมงานเริ่มมีมุมมองหรือ ทัศนคติที่เปลี่ยนไป ให้ลองสอบถามอย่างตรงไปตรงมา ว่ามีปัญหาในที่ทำงานกับใคร หรือจากเรื่องไหนหรือไม่ รวมทั้งลองให้เขาคนนั้น แสดงทัศนคติในแบบของตัวเอง สำหรับวิธีแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น การรับฟังทัศคติทั้งด้านดีและด้านไม่ดี จะช่วยให้เกิดความผ่อนคลาย และเปลี่ยนหนักให้เป็นเบาได้เหมือนกัน

8. #ให้มีส่วนร่วมในการทำงานอยู่เสมอ

ถึงจะเป็นคนที่คิดลบ แต่ก็ไม่ควรกีดกัน หรือแบ่งแยกออกจากการทำงาน เพราะการให้มีส่วนร่วมในการประชุม การวางแผนห หรือการระดมความคิด จะช่วยให้เกิดการปรับเปลี่ยนทัศนคติไปในทางที่ดีขึ้นได้

9. #อย่าลืมที่จะแสดงความขอบคุณเมื่อได้รับฟังปัญหา

เหนือสิ่งอื่นใดเลย เมื่อเราได้รับฟังปัญหาที่เกิดขึ้นแล้ว รวมทั้งทัศนคติด้านลบไปเรียบร้อยแล้ว อย่าลืมที่จะกล่าวขอบคุณ หรือบ่งบอกให้เขารู้ว่าคุณยินดี และดีใจที่ได้ฟังความคิด การนำเสนอ รวมทั้งมุมมองทั้งเชิงลบและเชิงบวก เพื่อให้เขารับรู้ว่า คุณตั้งใจที่จะฟังเรื่องราวปัญหาทั้งหมดอย่างจริงใจ

ทัศนคติเชิงลบไม่ใช่โรคติดต่อ ไม่ใช่เรื่องเลวร้าย การให้โอกาส และรับฟังอย่างตั้งใจ จะช่วยแก้ไขมุมมองจากลบให้กลายเป็นบวกได้ แถมยังช่วยให้ได้เพื่อนร่วมงานที่มีความเข้าใจกันจริง ๆ อีกด้วย

.
.
#PRTR #PeopleAreKey
#Recruitment #TotalHRSolutions #หาคน #หางาน
.
.
สร้างโปรไฟล์สมัครงาน http://job.prtr.com/user/register
เช็คตำแหน่งงานว่างได้ที่ http://job.prtr.com/
อัพเดทตำแหน่งงานว่างได้ที่ Line@: http://line.me/ti/p/~@prtr

Top